ส่วนผสมของน้ำหอม​ ที่คุณต้องรู้

 

สมัยก่อนน้ำหอมนั้นทำมาจากเหล่าพฤกษาที่สกัดมาจากธรรมชาติ แต่ต่อมาก็เริ่มมีการปรุงกลิ่น และสี เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ทั้งในเรื่องของ การแยกกลิ่นออกตามอารมณ์ ตามเพศ ตามความหมาย และปรุงกลิ่นเพื่อใช้ให้ถูกจุด หรือ ให้ตรงกับประโยชน์ของผู้ที่จะนำไปใช้

ส่วนอื่น ๆ ของต้นไม้นั้น เราก็นำมาใช้ทำนํ้าหอมได้ ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ใบไม้ เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก และยางไม้ มาทำความรูจักกับชนิดของต้นไม้ที่คนปรุงนํ้าหอม นำมาใช้ในการทำนํ้าหอมกันดีกว่า

 

 

มาดู10 ส่วนผสมน้ำหอมที่จะนำเสนอ​ให้คุณ​ได้รู้จัก

 

1. Balsam
เป็นยางไม้หอม มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง นิยมผลิตเครื่องหอมในปัจจุบัน คือ Balsam จากประเทศเปรู

2. Bergamot
หรือ ต้นมะกรูด ส่วนที่ใช้สกัดทำน้ำหอมก็คือ บริเวณผิวของเปลือกของลูกมะกรูดที่นำมาสกัดเป็นน้ำหอมกลิ่นผู้หญิง

3. Frankincense
เป็นยางไม้หอมจากต้นไม้จำพวก Boswellia ปัจจุบันเราใช้ Frankincense เป็นส่วนผสมของนํ้าหอมสมัยใหม่ถึง 13%

4. Galbanum
ยางไม้ของต้นยี่หร่า จากประเทศอิหร่าน ซึ่งจะมีกลิ่นหอมออกไปทาง spicy

5. Jasmine
ต้นมะลิใช้เป็นส่วนผสมหลักของนํ้าหอมในปัจจุบันมากกว่า 80 % พันธุ์ของมะลิที่นิยมใช้ในการทำน้ำหอมก็คือมะลิจากประเทศสเปน Royal Jasmine นี้จะเป็นส่วนผสมในการทำนํ้าหอมที่แพงที่สุด เพราะว่าจากมะลิ 500 ปอนด์ จะกลั่นออกมาใช้ทำนํ้าหอมได้แค่เพียง 0.1 % เท่านั้น

6. Lavender
เป็นส่วนผสมหลักในการทำนํ้าหอม ตั้งแต่สมัย กรีก – โรมัน

7. Lemon
ผิวของผลมะนาว เป็นส่วนผสมที่จำเป็นในการทำนํ้าหอม ที่ต้องการให้ได้กลิ่นหอมที่สดชื่น สดใส มีชีวิตชีวา

8. Lily of the Valley
ในช่วงเริ่มแรกของการทำนํ้าหอมนั้น เราได้กลิ่นหอมของดอก Lily โดยการใส่ดอก lily ลงไปในนํ้ามัน แต่ในปัจจุบันเราใช้กรรมวิธีที่ทันสมัย โดยการสกัดเอากลิ่นหอมของ lily ออกมาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เราใช้ lily เป็นส่วนผสมในการทำนํ้าหอมประมาณ 14 % ในปัจจุบัน

9. Neroli
ได้จากการกลั่นดอกของต้นส้ม ชื่อ Neroli นี้ได้มาจากในช่วงหลังศตรววรษที่ 16 โดยภรรยาของเจ้าชายในอิตาลีคนหนึ่งใช้ Neroli ผสมในนํ้าที่เธออาบ ทำให้กลิ่นหอมนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายในยุโรป แต่จริง ๆ แล้ว Neroli เข้ามาในยุโรปนานแล้ว ตั้งแต่ศตรวรรษที่ 12 โดยชาวอาหรับเป็นผู้นำเข้ามา ในปัจจุบันใช้เป็นส่วนผสมในการทำนํ้าหอมถึง 12%

10. Oak Moss
เป็น Lichen ที่อยู่ตามต้นโอ๊ก ต้นสน และต้นไม้อื่น ๆ เราใช้ oak moss เป็นตัวยึดกลิ่นหอมของนํ้าหอมไว้ไม่ให้ระเหยไปเร็ว

กว่าจะได้น้ำหอมที่กลั่นออกมาแต่ละชนิดทั้งสี และกลิ่นให้เราได้ดมกันอย่างชื่นใจนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จริงๆ

ที่มาจาก​  : น้ำหอมไอดู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *